ประเทศยูกันดาภายใต้การปกครองของอีดี อามิน ของ อีดี_อามิน

การปกครองกองทัพ

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 หนึ่งสัปดาห์หลังจากทำการรัฐประหาร อามินได้สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีของประเทศยูกันดา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, หัวหน้าเสนาธิการกองทัพและหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ อามินประกาศเอาไว้ว่าจะลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ อย่างแน่นอนเมื่อเขาได้จัดการเลือกตั้งเรียบร้อยและในไม่ช้าจะมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษากลาโหมโดยมีอามินนั่งเป็นประธานสภา อามินอยู่ภายใต้ศาลทหารที่เหนือกว่าศาลพลเรือนทั่วไป มีคำสั่งให้ทหารไปที่ทำการหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการโฆษณาเพื่อทำการแจ้งข่าวแนะนำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พวกเขาล้วนได้รับการฝึกวินัยทางทหารอย่างเคร่งครัด[18][22] อามินเปลี่ยนชื่อที่ทำการของประธานาธิบดีจากทำเนียบรัฐบาล (Government House) เป็น "กองบัญชาการ (The Command Post)" เขายกเลิกหน่วยงานบริการทั่วไป (The General Service Unit : GSU) ซึ่งเป็นองค์การที่สืบข่าวให้กับรัฐบาลชุดก่อน และเปลี่ยนมันเป็นสำนักงานสืบค้นข่าว (State Reserch Bureau : SRB) สำนักงานใหญ่ของ SRB ตั้งอยู่ชานกรุงกัมปาลา เป็นที่ซึ่งเหมาะแก่การทรมานและสังหารผู้คนในอีก 2–3 ปีต่อมา[23] องค์กรอื่นที่ถูกถอดถอนเช่น หน่วยงานสารวัตรทหาร, หน่วยรักษาความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety Unit : PSU) [23]

โอโบเตได้ลี้ภัยอยู่ประเทศแทนซาเนีย โดยจูเลียส ไนเรอร์ ประธานาธิบดีแห่งแทนซาเนียได้จัดไว้ให้ โอโบเตกับผู้ลี้ภัยชาวยูกันดาราว 20,000 คนพยายามเข้าประเทศยูกันดาเรื่อยมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเลย[24] (โอโบเตกลับมาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2523)

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อีดี อามินกล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ทำการสหประชาชาติ นิวยอร์ก พ.ศ. 2518

อามินเริ่มจัดการกับกลุ่มคนที่ยังจงรักภักดีโอโบเต ในปี พ.ศ. 2515 อันได้แก่กลุ่มชนเผ่าอะโชลีและแลนโก[25] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 ทหารของอะโชลีและแลนโก้ถูกสังหารหมู่ในโรงเรียนทหารจากจินจาและมบาราราจำนวนมาก[26] และต้นปี พ.ศ. 2515 ทหารของอะโชลีและแลนโกประมาณ 5,000 นายกับชาวบ้านบางส่วนหายสาบสูญ[27] ไม่นานเหล่าผู้เคราะห์ร้ายก็หันไปพึ่งชนเผ่าอื่น, ผู้นำลัทธิ, นักหนังสือพิมพ์, ข้าราชการอาวุโส, ผู้พิพากษา, นักกฎหมาย, นักศึกษา, อาชญากร และชาวต่างชาติ เพื่อกระจายข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และจะมีผู้คนถูกสังหารอีกเป็นจำนวนมาก[28]

การสังหารถูกกระตุ้นโดยชนเผ่าตามปัจจัยทางนโยบายและการคลังดำเนินอยู่ตลอด 8 ปีที่อามินดำรงตำแหน่ง[27] ไม่มีใครทราบจำนวนตัวเลขแน่นอนของคนที่ถูกสังหาร คณะกรรมาธิการนักกฎหมายสากลประมาณตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ไม่ต่ำกว่า 80,000 คนและอยู่ประมาณ 300,000 คน แต่การประมาณตัวเลขผู้เสียชีวิตขององค์กรผู้ลี้ภัยที่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การนิรโทษกรรมสากลได้คาดไว้ถึง 500,000 คน ในกลุ่มผู้ที่ถูกสังหาร ชื่อที่สะดุดตานั้นมีเบเนดิกโต กิวานุกา อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งในภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา, จานานี ลุวุม แองกลิคันอาร์ชบิชอปแห่งคริสตจักรแห่งยูกันดา, โจเซฟ มูบิรุ ผู้ว่าการธนาคารกลาง, แฟรงค์ มาลิมุโซ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเกเรเร, ไบรอน กาวาดวา นักประพันธ์บทละครผู้มีชื่อเสียงและสองรัฐมนตรีของอามินเองคืออีรินาโย วิลสัน ออร์เยมา กับชาลส์ โอบอธ โอโฟมบิ[29]

ในปี พ.ศ. 2520 เฮนรี เกมบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลอามินและอดีตข้าราชการในสมัยโอโบเต้เป็นประธานาธิบดีครั้งแรก ได้ละทิ้งตำแหน่งและไปตั้งรกรากใหม่ที่สหราชอาณาจักร เขาเขียนและตีพิมพ์หนังสือ "A State of Blood" เกมบาคือบุคคลภายในคนแรกที่ออกมาเปิดเผยเรื่องราวการปกครองของอามิน

การขับไล่ชาวเอเชีย 60,000 คนออกนอกประเทศ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2515 อามินประกาศสิ่งที่เขาเรียกว่า "สงครามเศรษฐกิจ (Economic War)" มีนโยบายอย่างเช่น ยึดอสังหาริมทรัพย์ของชาวเอเชียและชาวยุโรป ชาวเอเชียในยูกันดา 80,000 คนส่วนใหญ่เป็นชาวอนุทวีปอินเดียที่เกิดในยูกันดา บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาประกอบวิชาชีพ เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมของขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของประเทศยูกันดา ตั้งแต่สมัยที่ประเทศของพวกเขายังอยู่ในเครือจักรภพ

4 สิงหาคม พ.ศ. 2515 อามินออกคำสั่งให้ขับไล่ชาวเอเชียในประเทศยูกันดา 60,000 คน (ส่วนใหญ่ถือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักร) ต่อมาภายหลังเขาได้ออกมาขอโทษกับชาวเอเชียทั้งหมด 80,000 คนต่อมาตรการดังกล่าว และขอยกเว้นชาวเอเชียที่ประกอบอาชีพจำพวกแพทย์, นักกฎหมาย และครู แต่ชาวเอเชียราว 30,000 คนที่ถือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักรก็ตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศยูกันดาไปที่บริเตนใหญ่ ที่เหลือได้เดินทางไปที่ประเทศออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, ปากีสถาน, สวีเดนและสหรัฐอเมริกา[30][31][32] อามินได้ยึดเอาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของชาวเอเชีย ยกให้แก่พวกพ้องของอามิน ธุรกิจเหล่านั้นประสบความล้มเหลว อุตสากหรรมล้มละลายเนื่องจากขาดการดูแล เริ่มปรากฏหายนะทางเศรษฐกิจ[22]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ภายหลังทำการขับไล่ชาวเอเชียในประเทศยูกันดาในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ประเทศอินเดียได้ลดความสำคัญทางการทูตลงกับประเทศยูกันดา ในปีเดียวกัน ส่วนหนึ่งของนโยบายสงครามเศรษฐกิจของอามิน ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหราชอาณาจักรลงและทำการกำกับดูแลธุกิจของชาวสหราชอาณาจักร 85 ธุรกิจโดยรัฐบาล

ในปีนั้นอามินได้ทำการขับไล่ที่ปรึกษาทางทหารอิสราเอลออก และหันไปรับการสนับสนุนจากมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบียและสหภาพโซเวียตแทน[25]และออกมาต่อว่าอิสราเอลอย่างไม่พอใจ[33] ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง General Idi Amin Dada: A Self Portrait เขาได้พูดถึงแผนการที่จะสร้างสงครามต่อต้านอิสราเอลขึ้น จะใช้พลร่ม, ระเบิดและกองทัพระเบิดพลีชีพ[10] ภายหลังอามินออกมากล่าวถึงฮิตเลอร์ว่า "ทำถูกแล้วที่เผาทำลายยิว 6 ล้านคน"[34]

พ.ศ. 2516 โธมัส พาทริค เมลาดี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศยูกันดาในขณะนั้น แนะนำให้สหรัฐอเมริกาลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศยูกันดาลง เมลาดีพรรณนาถึงการปกครองของอามินว่า "เห็นแก่พวกพ้อง, เอาแน่เอานอนและคาดเดาไม่ได้, ทารุณโหดร้าย, งี่เง่า, ก้าวร้าว, ไร้เหตุผล, น่าหัวร่อ และเป็นพวกทหารนิยม"[35] ฉะนั้นสหรัฐอเมริกาจึงทำการถอนคณะทูตออกจากเมืองกัมปาลา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 อามินยอมให้เครื่องบินของสายการบินแอร์ฟรานซ์ที่ถูกสมาชิกขบวนการปลดแอกปาเลสไตน์-ปฏิบัติการนอกดินแดน (PFLP-EO) และสมาชิกกลุ่มปฏิวัติเยอรมนี (RZ) จี้กลางอากาศลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบ ตัวประกัน 156 คนที่ไม่ได้ถือหนังสือเดินทางประเทศอิสราเอลถูกปล่อยตัวและได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ส่วนชาวยิวและพลเมืองชาวอิสราเอล 83 คนกับพนักงานเครื่องบินและพวกที่เหลืออีก 20 คนยังคงเป็นตัวประกันอยู่ ในภายหลังทางอิสราเอลได้เข้าช่วยเหลือตัวประกันในปฏิบัติการณ์ที่ชื่อว่า "ปฏิบัติการณ์สายฟ้า (Thunderbolt Operation)" หรือรู้จักกันในชื่อ "ปฏิบัติการณ์เอนเทบเบ" ตัวประกันเกือบทั้งหมดรอดเป็นอิสระ แต่ตัวประกัน 3 คนเสียชีวิตและอีก 10 คนบาดเจ็บ ผู้ก่อการร้าย 6 คน, ทหารยูกันดา 45 คนและทหารอิสราเอล 1 คนคือโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu) ถูกสังหาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับนานาประเทศของยูกันดาย่ำแย่ลง ทางบริเตนทำการถอนข้าหลวงออกจากประเทศยูกันดาทันที[36]

ประเทศยูกันดาภายใต้อำนาจการปกครองของอามินได้ดำเนินการส่งเสริมการทหารให้แข็งแกร่งขึ้น เนื่องด้วยการสะสมกองกำลังของประเทศเคนยา ทางการเคนยาได้ทำการยึดเรือสินค้าของโซเวียตลำที่มีเส้นทางเข้าประเทศยูกันดาเอาไว้ที่ท่าเรือมอมบาซ่าของประเทศเคนยา สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูกันดาและเคนยาบรรลุมาถึงจุดแตกหักในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เมื่ออามินประกาศว่าเขาจะสืบสาวเหตุการณ์ในซูดานตอนใต้และภาคตะวันตกกับภาคกลางของเคนยา เข้าไปถึง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) ของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งอาณานิคมของยูกันดา รัฐบาลของเคนยาได้ตอกกลับไปว่าเคนยาไม่เคยเป็นส่วนหนึ่ง"แม้แต่นิ้วเดียว" ต่อมาอามินเปลี่ยนใจเนื่องจากเคนยาได้ส่งกองกำลังและยานหุ้มเกราะบรรทุกทหารมาที่บริเวณเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างยูกันดาและเคนยา[37]

ความสัมพันธ์กับประเทศลิเบียนั้น ผู้นำเผด็จการทหารมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟีก็ถือหางอามินอยู่[2] เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้สนับสนุนหลักของกองทัพทหารของอามิน[3]

เยอรมนีตะวันออกนั้นมีส่วนพัวพันอยู่กับหน่วยงานบริการทั่วไป (GSU) และสำนักงานสืบค้นข่าวกรอง (SRB) ซึ่งเป็นสององค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่องความสยดสยอง จนกระทั่งแทนซาเนียได้เข้าทำการบุกรุกเมื่อปี พ.ศ. 2522 เยอรมนีตะวันออกจึงได้พยายามนำหลักฐานต่าง ๆ ออกมาจากสถานที่เหล่านั้น[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อีดี_อามิน http://www.smh.com.au/articles/2003/08/16/10609361... http://www.bookrags.com/biography/idi-amin-dada http://www.britannica.com/eb/article-9007180 http://www.economist.com/world/mideast-africa/Prin... http://www.foreignaffairs.com/articles/29141/richa... http://video.google.com/videoplay?docid=4169600956... http://www.idiamindada.com/ http://www.imdb.com/name/nm0024907/ http://www.livesandlivelihoods.com/files/25826548.... http://www.nationaudio.com/News/DailyNation/170820...